Download PDFOpen PDF in browserการบำบัดไดโคลฟีแนคในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้แคลเซียมเปอร์ออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการโอโซเนชันEasyChair Preprint 95468 pages•Date: January 5, 2023Abstractไดโคลฟีแนค (Diclofenac: DCF) เป็นยาต้านอาการอักเสบที่ใช้อย่างแพร่หลาย จึงพบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการบำบัดที่เหมาะสมก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพบำบัด DCF ด้วยกระบวนการโอโซเนชันที่ใช้แคลเซียมเปอร์ออกไซด์ (CaO2) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ปริมาณโอโซน (O3) ความเข้มข้นเริ่มต้น ค่าพีเอช ระยะเวลา และ ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา ผลการทดลองพบว่า การเพิ่มปริมาณ O3 pH ระยะเวลา และ การเติมตัวเร่งปฏิกิริยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพการบำบัดเพิ่มขึ้น การเพิ่มความเข้มข้นของ DCF ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการบำบัดลดลง โดยสภาวะที่เหมาะสม คือ ปริมาณ O3 95 มก./ชม. ความเข้มข้นเริ่มต้น 25 มก./ล. ค่าพีเอช 7 และ ปริมาณ CaO2 1 ก./ล. ที่เวลา 120 นาที ให้ประสิทธิภาพการบำบัด DCF 77.95% การศึกษาจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาการบำบัด DCF ด้วยกระบวนการโอโซเนชันและกระบวนการโอโซเนชันที่ใช้ CaO2 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นไปตามปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่ง โดยมีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยา(k) เท่ากับ 0.0095 min-1 และ 0.0137 min-1 ตามลำดับ Keyphrases: กระบวนการโอโซเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา, แคลเซียมเปอร์ออกไซด์, ไดโคลฟีแนค
|