Download PDFOpen PDF in browserการศึกษารูปแบบการอุดตันเยื่อกรองรีเวอร์สออสโมซิสสำหรับบำบัดไดโคลฟีแนคในน้ำสังเคราะห์EasyChair Preprint 95918 pages•Date: January 19, 2023Abstractงานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการกักกันไดโคลฟีแนคในน้ำสังเคราะห์ด้วยเยื่อกรองชนิดรีเวอร์สออสโมซิสและการลดลงของค่าฟลักซ์ปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ความดัน ค่าพีเอช และความเข้มข้นเริ่มต้นของไดโคลฟีแนค ผลการทดลองพบว่า ที่ความดัน 40 และ 60 psi มีค่าการกักกันใกล้เคียงกันได้แก่ 61.90% และ 60.70% ตามลำดับ ที่พีเอช 7 และ 9 มีค่าการกักกัน 61.92% และ 63.07% ตามลำดับซึ่งสูงกว่าที่พีเอช 3 (55.96%) การเพิ่มความเข้มข้นเริ่มต้นของไดโคลฟีแนคส่งผลให้ประสิทธิภาพการกักกันลดลง ที่สภาวะที่เหมาะสมได้แก่ ความดัน 40 psi พีเอช 7 และความเข้มข้นเริ่มต้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ประสิทธิภาพการกักกันไดโคลฟีแนค 98.86% โดยกลไกการคัดแยกด้วยขนาดและแรงผลักทางไฟฟ้าสถิต การศึกษารูปแบบการอุดตันด้วยแบบจำลองอนุกรมความต้านทานพบว่าการลดลงของค่าฟลักซ์ส่วนใหญ่เกิดจากความต้านทานที่เกิดจากปรากฏการณ์คอนเซ็นเตรชันโพลาไรเซชัน (RCP) เนื่องจากการสะสมตัวของสารที่ถูกกักกันบริเวณผิวหน้าของเยื่อกรอง Keyphrases: Diclofenac, Flux decline, Fouling, reverse osmosis
|